การวิจารณ์ หมายถึงอะไร ?

ในสภาพสังคมปัจจุบัน ที่สื่อมีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะในโลกอินเทอร์เน็ตหรือโลกในโทรทัศน์ การวิจารณ์กลายเป็นสิ่งที่เราสามารถพบเห็นได้บ่อยมากยิ่งขึ้นกว่าในยุคอดีต ตัวอย่างเช่น การมาของอินเทอร์เน็ตที่ทำให้เกิด การแสดงความคิดเห็น เชิงวิพากษ์สิ่งต่าง ๆ กันมากและง่ายขึ้น เช่น พฤติกรรม หรือ สไตล์การแต่งตัว ในโลกโซเชียล การมาของกระแสรายการใหม่ที่ทำให้การวิจารณ์ในรายการทีวี เพิ่มจำนวนมากขึ้น เช่น รายการอาหาร รายการร้องเพลง หรือรายการแข่งขันอื่น ๆ เป็นต้น
โดยที่อาจมีหลายคนนั้นมักจะเข้าใจว่า การวิจารณ์หมายถึงการกล่าวติติงในแง่ลบของสิ่งนั้น ๆ เพียงอย่างเดียว แต่ความจริงแล้วคำว่าการวิจารณ์นั้น ไม่ได้หมายถึงการกล่าวในแง่ลบเสมอไป แต่ยังหมายถึงการแสดงความคิดเห็นในแง่บวกอีกด้วย
ความหมายของคำว่า วิจารณ์
วิจารณ์ หมายถึง การแสดงความคิดเห็นในเชิงติชม ซึ่งอาจมีทั้งแง่ดีหรือแง่ลบ โดยอาจมีทั้งจุดประสงค์มุ่งหวังในด้าน ทำร้าย หรือ สนับสนุน ความหมายของคำว่าวิจารณ์ ตาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายว่า เป็นคำตัดสินสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรม โดยผู้ที่มีความรู้และน่าเชื่อถือ ได้ติชมว่า สิ่งนั้น มีค่าความงามความไพเราะอย่างไร หรือ มีข้อบกพร่องใดบ้างที่ควรแก่การแก้ไข
ลักษณะของงานวิจารณ์ที่ดีงาม
- หลีกเลี่ยงการใช้คำว่า อย่า และ ต้องมาใช้ในบทวิจารณ์
- ไม่ควรตำหนิหรือคัดค้านโดยปราศจากการยกเหตุผล
- ต้องเป็นการวิจารณ์ที่ไม่มีการแสดงความคิดในเชิงอคติต่อบุคคลหรือสถาบัน
- หากเป็นการวิจารณ์ในเชิงลบ จะต้องไม่มีการใช้ถ้อยคำหยาบคายและก้าวร้าวแสดงออกมา
- ไม่ควรเขียนพาดพิงถึงบุคคลที่สาม ซึ่งเป็นในแนวทางโยงให้มีความเสียหายเกิดขึ้น
ประเภทของงานวิจารณ์ แบ่งออกได้ทั้งหมด 3 ประเภท คือ
1.การวิจารณ์ในเชิงสร้างสรรค์
เป็นการกล่าวโดยอ้างอิงถึงหลักของเหตุและผล อย่างเที่ยงธรรม พร้อมมีการแสดงถึงความรู้ ความเข้าใจมาใช้ยืนยันในด้านการวิจารณ์
2.แบ่งตามการวิจารณ์
หมายถึง การวิจารณ์อันเป็นไปตาม ความรู้สึกนึกคิดของผู้วิจารณ์ ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า “จิตวิจารณ์” รวมถึง การวิจารณ์ในลักษณะของ “อรรถวิจารณ์” อันเป็นการวิจารณ์ตามเนื้อหาสาระของสิ่งนั้น ๆ แล้วนำมาตีความสรุปเปรียบเทียบถึงจุดด้อยและจุดดี กับ การวิจารณ์แบบ “วิพากษ์วิจารณ์” ที่เป็นการวิจารณ์ในเชิงตัดสิน
3.แบ่งตามเรื่องวิจารณ์
ตัวอย่างเช่น วิจารณ์วรรณกรรมในระดับง่าย วิจารณ์เชิงข่าวสาร การวิจารณ์ทางวิชาการ และ การวิจารณ์แบบทั่วไป
4.พยายามวิจารณ์อย่างตรงประเด็นอันเป็นหลักสาระในเนื้อหาที่นำเสนอ
ไม่เปิดประเด็นใหม่ที่ไม่เชื่อมโยง หรือเป็นประเด็นใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือเป็นประเด็นใหม่ที่ยังไม่พิสูจน์ทราบแน่ชัด